- หน้าเเรก
- คำถามที่พบบ่อย
- ผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม
คำถามที่พบบ่อย
Q4: รังสี UVA1 คืออะไร แล้วผลิตภัณฑ์ทั่วไปกันรังสี UVA1 ได้หรือไม่
A:
SUMMARY
รังสี UV (Ultraviolet) ประกอบด้วย UVA (UVA1 และ UVA2) กับ UVB ซึ่งรังสีทั้งสามชนิดนี้มีความยาวคลื่นต่างกันจึงมีอานาจในการทะลุทลวงที่ต่างกันด้วย โดย UVA มีอานาจทะลุทลวงสูงที่สุด สามารถทะลุเข้าไปถึงชั้นหนังแท้ (dermis) ทาให้เกิดรอยเหี่ยวย่น และสามารถทาลายโครงสร้าง DNA ของผิวได้ ดังนั้นการป้องกันรังสี UVA จึงมีความจาเป็นอย่างมาก โดยทั่วไปครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 และ PA++ ขึ้นไปก็สามารถปกป้องรังสี UVA (ซึ่งหมายรวมถึง UVA1 กับ UVA2) และ UVB ได้อยู่แล้ว หากแต่ที่ UVA1 เริ่มมีบทบาทให้เห็นตามโฆษณาในปัจจุบันนี้ เพราะ UVA1 มีส่วนประกอบอยู่ในรังสี UVA มากถึง 75% จึงเป็นการตลาดที่ต้องการความดึงดูดความสนใจของผู้บริโภคต่อสินค้าใหม่ให้พุ่งไปยังรังสี UVA1 ที่ยังไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย แต่แท้ที่จริงแล้ว รังสี UVA1 ก็เป็นเพียงรังสี UVA ชนิดนึงซึ่งไม่ใช่รังสีชนิดใหม่แต่อย่างใด
SUPPORTING DETAILS
รังสีอัลตร้าไวโอเลตหรือรังสียูวี (Ultraviolet radiation: UVR) ในแสงแดดนั้นประกอบด้วยรังสี 3 ประเภท ได้แก่ UVA (320-400 nm) 95% โดยแบ่งเป็น UVA1 (340-400 nm) 75% และ UVA2 (320-340 nm) 20% นอกจากนี้ยังมี UVB (290-320 nm) อีก 5% และ UVC (200-290 nm) ซึ่งรังสียูวีที่สามารถทะลุมาถึงตัวเรามีเพียงแค่ UVA และ UVB เนื่องจากชั้นโอโซน (Ozone layer) ของโลกจะดูดซับและสะท้อนรังสี UVC ทั้งหมด รวมถึง UVB บางส่วน แต่ UVA จะทะลุผ่านชั้นโอโซนลงมาได้ทั้งหมด ดังนั้นรังสี UV ที่ส่องถึงตัวเราจึงมีความเข้มข้นของ UVA มาก UVB ปริมาณน้อย และไม่มี UVC
จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า รังสี UVB สามารถทะลุทะลวงได้ต่า ไปถึงแค่ชั้นหนังกาพร้า (Epidermis) เพราะจะถูกเม็ดสี (melanin) ดูดซับไว้ ซึ่ง UVB เป็นสาเหตุของรอยไหม้รอยแดงจากแดด ทาให้ผิวคล้าเสียโดยกระตุ้นการสร้าง melanin และ ยังทาลายโครงสร้าง DNA โดยตรง ทาให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนัง ส่วนรังสี UVA (UVA1 และ UVA2) มีอานาจการทะลุทะลวงสูง ไปได้ถึงชั้นหนังแท้ (Dermis) ซึ่ง UVA ทาให้เกิดรอยคล้าแดด และสีผิวที่คล้าขึ้นจากการกระตุ้นเม็ดสีผิว นอกจากนี้ยังทาให้เกิดอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไว (Reactive Oxygen Species : ROS) หรืออนุมูลอิสระ (Free radical) ที่ไปทาปฏิกิริยาทาลาย DNA โปรตีนต่างๆ และกระตุ้นให้เซลล์ตาย (Apoptosis) เป็นสาเหตุของการเกิดรอยเหี่ยวย่น และยังเสี่ยงต่อโรคมะเร็งผิวหนังอีกด้วย
โดยทั่วไปครีมกันแดด (Sunscreen) จะมีสารกรองรังสียูวี (UV filters) โดยมีสองประเภทคือ Physical Sunscreen เช่น titanium dioxide, zinc oxide มีกลไกในการสะท้อนรังสี UV และ Chemical Sunscreen เช่น avobenzone มีกลไกในการดูดซับรังสี UV ซึ่งการใช้ครีมกันแดดก็ควรมี Sunscreen ทั้งสองประเภทใช้ร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพที่ดีในการปกป้องรังสีทั้ง UVA และ UVB (Broad spectrum)
ในผลิตภัณฑ์ครีมกันแดดจะมีค่าการป้องกันรังสี UV อยู่ 2 ค่า ค่าแรกคือ SPF (Sun Protecting Factor) เป็นค่าวัดประสิทธิภาพการป้องกันรังสี UVB โดยตรง ซึ่งทาให้เกิดรอยไหม้จากแดด (Sunburn) ซึ่งโดยทั่วไปค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไปจะกันรังสี UVB ได้ 97% โดยที่ค่า SPF มีความหมายเป็นจานวนเท่าของเวลาที่ผิวทนต่อรังสี UVB นี้ได้หลังจากทาครีมกันแดดแล้วโดยไม่เกิดรอยไหม้ ถัดมาคือค่า PA (Protection Grade of UVA) ซึ่งเป็นค่าวัดการป้องกันรังสี UVA อย่างไม่เป็นทางการเนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีหน่วยวัดที่เป็นมาตรฐานในการวัดค่าการดูดซึมของรังสี UVA โดยที่ PA++ ขึ้นไปหมายถึง มีประสิทธิภาพในการป้องกันรังสี UVA สูง
Q3: ถ้าเป็นคนผิวแพ้ง่าย ควรเลือกผลิตภัณฑ์ถนอมผิวแบบไหน
A: การแพ้อาจเกี่ยวข้องกับสภาวะร่างกาย เช่นร่างกายอ่อนแอ หรือมีโรคประจำตัวบางอย่างที่ทำให้ไวต่อสารต่างๆ มากกว่าปกติจึงควรทดสอบการแพ้บริเวณท้องแขนด้านในก่อน โดยทาผลิตภัณฑ์ทิ้งไว้สักครู่หนึ่ง หากไม่เกิดการแพ้ ก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์นั้นในลักษณะปกติต่อไปได้
Q2: ถ้าใช้ยาสีฟันไม่ผสมฟลูออไรด์แล้วจะเกิดฟันผุหรือไม่
A: การจะเกิดฟันผุ ต้องมี 3 ปัจจัยคือ [1.] ผิวฟัน [2.] เชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดฟันผุ (Streptococcus Mutans) และ [3.] แป้งหรือน้ำตาลที่เป็นอาหารของเชื้อแบคทีเรีย โดยแบคทีเรียจะย่อยแป้งและน้ำตาลแล้วเกิดกรดกัดกร่อนผิวฟันอยู่เรื่อยๆจน กระทั่งฟันผุ หากขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดก็จะไม่เกิดฟันผุ เช่น ในคนที่ไม่มีฟันผุเลยอาจเป็นเพราะว่าช่องปากเขาไม่มีเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้ เกิดฟันผุ (Caries Free) หรือเป็นเพราะว่าเขาทำความสะอาดฟันได้ดีมาก ไม่มีคราบแป้งหรือน้ำตาลที่จะเป็นอาหารของแบคทีเรีย ดังนั้นหากเราสามารถทำความสะอาดฟันและรักษาอนามัยในช่องปากได้ดีแล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องฟันผุอีกต่อไป
Q1: ทำไมยาสีฟันโพรฟี่จึงไม่มีฟลูออไรด์
A: เนื่องจากรูปแบบของสินค้าและการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้คนในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิมเป็นอันมาก ในอดีตเราไม่ค่อยพบปัญหาการได้รับฟลูออไรด์ในปริมาณที่มากเกินไป แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีการเติมฟลูออไรด์ลงไปในน้ำและอาหารกันมากมายหลายรายการ และผู้บริโภคมีความเสี่ยงที่จะได้รับปริมาณฟลูออไรด์สูงเกินไปจนเกิดความผิด ปกติต่อร่างกาย หากเป็นในเด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 8 ปี ก็จะทำให้มีความผิดปกติของฟันตกกระ (Fluorosis) กล่าวคือฟันมีสีขาวขุ่นเป็นจุดๆ จนถึงขั้นฟันลาย หรือมีสีน้ำตาล หากเป็นในผู้ใหญ่ปริมาณฟลูออไรด์ที่มากเกินไปจะสะสมที่กระดูกและทำให้กระดูกหนา กระดูกขาผิดรูปร่างโก่งงอ หรือมีกระดูกงอกบริเวณที่เกาะของเอ็น และกล้ามเนื้อกดทับเส้นประสาท ทำให้ปวดข้อ เคลื่อนไหวลำบากหรือจนถึงขั้นพิการได้ แม้แต่ในประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 6 ยังบังคับให้มีการปรับลดปริมาณฟลูออไรด์ในน้ำดื่มบรรจุขวด จากเดิม 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตรลงมาให้เหลือเพียง 0.7 มิลลิกรัมต่อลิตร โดยให้เหตุผลว่าเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและคุ้มครองประชาชนไม่ให้ได้รับฟลูออไรด์มากเกินจนเกิดผลเสียต่อสุขภาพ